วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557
หน่วยความจำแบบแฟลช
3. อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช
-อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory device) แฟลชไดร์ฟ (flash drive)
ธัมไดร์ฟ (thumb drive) หรือแฮนดี้ไดร์ฟ (handy drive) เป็นความจำประเภทรอมที่เรียกว่า อีดีพร็อม (Electrically Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และเก็บข้อมูลได้แม้ไม่ได้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก
การเลือกซื้ออุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช
1. ควรเลือกที่มีความแข็งแรงขนาดไม่ใหญ่เกินไป และฝาปิดควรให้เชื่อมต่อกับตัวหน่วยความจำ เพื่อไม่ให้สูญหายง่าย
2. เลือกขนาดความจุและราคาที่เหมาะสม
3. ควรเลือกที่มีการรับประกัน
การดูแลรักษาอุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช
เมื่อเลิกใช้หน่วยความจำแบบแฟลชที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องยกเลิกการเชื่อมต่อ โดยคลิกขวาที่การเชื่อมต่อด้านขวามือของทาส์กบาร์ คลิก Safe To Remove Hardware จากนั้นคลิก stop และ close ที่หน้าจอ ไม่ควรดึงออกจากการต่อเชื่อมเลยทันที
ดีวีดี
2.4 ดีวีดี (DVD : Digital Video Disk)
-เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมแทนแผ่นซีดี เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลมาใช้มากขึ้น ซึ่งดีวีดีหนึ่งแผ่น สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 4.7 กิโลไบต์ นิยมใช้บันทึกภาพยนตร์ หลังจากที่บันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีแล้ว ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดีวีดีมี 3 ชนิดได้แก่
ดีวีดีรอม (DVD-ROM) ส่วนมากใช้กับการเก็บภาพยนตร์ที่มีความยาวเกินกว่าสองชั่วโมง
ซีดีอาร์และซีดีอาร์บลิว
2.2 ซีดีอาร์ (CD-R : Compact Disk Recordable) -เป็นหน่วยความจำรองที่เขียนข้อมูลลงแผ่นแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้ แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นเดิมได้จนกระทั่งแผ่นเต็ม
2.3 ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW : Compact Disk Rewrite)
-หน่วยความจำที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลใหม่ทับลงในแผ่นเดิม หรือผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเนื้อหาต่าง ๆ ภายในแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวได้คล้ายแผ่นฟลอปปี้ดิสก์
ออปติคัลดิสก์
2. ออปติคัลดิสก์
ออปติคัลดิสก์ เป็นหน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูล ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่าฮาร์ดดิสก์ธรรมดา ออกติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
2.1 ซีดีรอม (CD-Rom : Compact Disk-Read-Only Memory) เป็นหน่วยความจำรองที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้รวมทั้งไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้ ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรกสุดนั้นมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที เรียกว่า มีความเร็ว 1 เท่าหรือ 1X ซึ่งซีดีรอมไดร์ฟรุ่นหลัง ๆ ก็จะอ้างอิงความเร็วใจการอ่านข้อมูลจากรุ่นแรกเป็นหลัก เช่น ความเร็ว 52 เท่า (52X) เป็นต้น
การเลือกซื้อออปติคัลดิสก์
1. ควรซื้อแผ่นที่ใส่ในหลอดแผ่นซีดี แบบ 50 แผ่น ไม่ควรซื้อแบบใส่ซองพลาสติก แบบซ้อนกันขาย เนื่องจากอาจเกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นได้
2. ควรเลือกสีเคลือบด้านบนที่เป็นมันวาว จะไม่สึกกร่อนง่าย
การดูแลรักษาออปติคัลดิสก์
1. เก็บแผ่นไว้ในกล่องหรือซองที่มิดชิด เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและรอยขีดข่วน
2. ควรเช็ดทำความสะอาดแผ่นก่อนใช้
3. ควรตรวจเช็คว่าแผ่นซีดีนั้นยังสามารถอ่านได้อยู่เสมอ และประมาณ 2 ปี ควรนำแผ่นข้อมูลสำคัญมาบันทึกใหม่
ฮาร์ดดิสก์
1. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวร โดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์มีหน่วยความจุตั้งแต่เป็นไบต์ เมกะไบต์ จนถึงจิกะไบต์ หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีความจุของฮาร์ดดิสก์มากก็จะทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มาก
1. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุและความเร็วเหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้ เช่น งานพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นอินเทอร์เน็ต ควรมีความจุ 0-10 GB/5,400 RPM งานกราฟิก ตกแต่งภาพความละเอียดสูง เล่นเกม ความจุ 200-250 GB/7,200 RPM และงานสร้างมัลติมีเดีย ตัดต่อเสียงและวีดิโอ ควรมีความจุตั้งแต่ 320 GB ขึ้นไป/10,000 RPM เป็นต้น
2. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีการรับประกัน
การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์
1. ควรสแกนหาไวรัสเป็นประจำทุกสัปดาห์ หรือติดตั้งดปรแกรมสแกนไวรัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์และปรับปรุงโปรแกรมสแกนไวรัสอยู่เสมอ
2. ควรลบไฟล์ขยะเป็นประจำทุกวันหรือทุกสัปดาห์ โดยการเรียกใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์ของวินโดว์ ได้แก่ Disk Cleanup
3. ควรสแกนดิสก์หาพื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่บกพร่อง ซึ่งมักเกิดจากการปิดเครื่องโดยไม่ได้ Shut down หรือไฟดับกะทันหัน ซึ่งทำได้โดยการเรียกใช้โปรแกรม Check Disk
4. ควรจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ให้เป็นระเบียบ เพื่อเพิ่มเนื้อที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์และเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้รวดเร็วขึ้น โดยการเรียกใช้โปรแกรมยูทิลิที้ของวิโดวส์ได้แก่ Disk Defragmenter ซึ่งควรทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง
หน่วยความจำรอง
หน่วยความจำรอง (Secondary Memory)
- หน่วยความจำรอง เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวรที่ผู้ใช้สามารถย้ายข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำแรม ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานมาจัดเก็บไว้ได้ด้วยคำสั่งบันทึกของโปรแกรมประยุกต์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและคำสั่งมาใช้ในภายหลัง ซึ่งหน่วยความจำรองมีความจุข้อมูลมากกว่าหน่วยความจำหลักและมีราคาถูกกว่า แต่เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำแรม อุปกรณ์หน่วยความจำรองที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
บทบาทและประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ คน สามารถทำงานร่วมกันได้ ตามตัวอย่างต่อไปนี้
1.ห้างค้าปลีกสมัยใหม่มีจุดรับชำระเงินหลายชุด แต่ละจุดมีเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code) ที่สามารถตัดสต๊อกสินค้าที่ขายออกจากฐานข้อมูลสินค้าคงคลังได้ทันที เครื่องเก็บเงินที่มีเครื่องอ่านรหัสแท่งเป็นส่วนประกอบนี้ความจริงเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่ต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายโดยใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน โดยที่ระบบนี้เป็นระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ ดังนั้นการที่ห้าง ฯ สามารถตั้งจุดรับชำระเงินจำนวนมาก เพื่อบริการลูกค้าได้รวดเร็วก็มาจากบทบาทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลนั่นเอง
2.เครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ หรือเครื่องเอทีเอ็ม (ATM) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระบบแวน (WAN) ที่มีเครื่องลูกข่ายคือตู้เอทีเอ็มจำนวนมากกระจายกันอยู่ทั่วประเทศเครื่องลูกข่ายของแต่ละนาคารต่อเชื่อมกับเครื่องแม่ข่ายของธนาคารนั้น และเครื่องแม่ข่ายของธนาคารต่าง ๆ ก็ต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายด้วยเมื่อเจ้าของบัญชีเงินฝากทำรายการถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มตู้หนึ่งข้อมูลจะถูกส่งไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ตู้เอทีเอ็มตู้หนึ่ง ข้อมูลจะถูกส่งไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ตู้เอทีเอ็มนั้น หากพบว่าเป็นบัญชีเงินฝากของธนาคารอื่น ก็จะส่งข้อมูลต่อไปยังธนาคารเจ้าของบัญชีเมื่อตรวจสอบเรียบร้อยข้อมูลจะถูกส่งกลับมาที่ตู้เอทีเอ็มนั้นอีกครั้งพร้อมกับคำสั่งให้จ่ายเงินหรือไม่ให้จ่ายเงิน
ตู้เอทีเอ็มจึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของสิ่งอำนวยความสะดวกในสังคมยุคใหม่ที่เป็นผลโดยตรงมาจากบทบาทและประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล
บทบาทและประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ คน สามารถทำงานร่วมกันได้ ตามตัวอย่างต่อไปนี้
1.ห้างค้าปลีกสมัยใหม่มีจุดรับชำระเงินหลายชุด แต่ละจุดมีเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code) ที่สามารถตัดสต๊อกสินค้าที่ขายออกจากฐานข้อมูลสินค้าคงคลังได้ทันที เครื่องเก็บเงินที่มีเครื่องอ่านรหัสแท่งเป็นส่วนประกอบนี้ความจริงเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่ต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายโดยใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน โดยที่ระบบนี้เป็นระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ ดังนั้นการที่ห้าง ฯ สามารถตั้งจุดรับชำระเงินจำนวนมาก เพื่อบริการลูกค้าได้รวดเร็วก็มาจากบทบาทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลนั่นเอง
2.เครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ หรือเครื่องเอทีเอ็ม (ATM) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระบบแวน (WAN) ที่มีเครื่องลูกข่ายคือตู้เอทีเอ็มจำนวนมากกระจายกันอยู่ทั่วประเทศเครื่องลูกข่ายของแต่ละนาคารต่อเชื่อมกับเครื่องแม่ข่ายของธนาคารนั้น และเครื่องแม่ข่ายของธนาคารต่าง ๆ ก็ต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายด้วยเมื่อเจ้าของบัญชีเงินฝากทำรายการถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มตู้หนึ่งข้อมูลจะถูกส่งไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ตู้เอทีเอ็มตู้หนึ่ง ข้อมูลจะถูกส่งไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ตู้เอทีเอ็มนั้น หากพบว่าเป็นบัญชีเงินฝากของธนาคารอื่น ก็จะส่งข้อมูลต่อไปยังธนาคารเจ้าของบัญชีเมื่อตรวจสอบเรียบร้อยข้อมูลจะถูกส่งกลับมาที่ตู้เอทีเอ็มนั้นอีกครั้งพร้อมกับคำสั่งให้จ่ายเงินหรือไม่ให้จ่ายเงิน
ตู้เอทีเอ็มจึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของสิ่งอำนวยความสะดวกในสังคมยุคใหม่ที่เป็นผลโดยตรงมาจากบทบาทและประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)